Friday, September 13, 2019

Pat 2


1.ธาตุสมมติ A , D และ E เป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเรียงกันและอยู่ในคาบ 3 พบว่าทั้งออกไซด์ของ E และไฮไดรด์ของ A , D และ E มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้องจากข้อมูลนี้ ข้อใดถูกต้อง (PAT-2 พ.ย.57)
ก. ค่า IE1 ของ D > E > A
ข. สูตรของสารประกอบออกไซด์ของ
ค. ธาตุ A , D และ E อยู่ใน 5A , 6A และ 7A ตามลำดับ
ง. เลขอะตอมของ A , D และ E คือ 13 , 14 และ 15 ตามลำดับ
เฉลย ก. เพราะ ธาตุที่ 3 ข้อมูลธาตุ E ของ ข้อ ข , , ง ขัดแย้ง 
               ค่า IE หมู่ 5 สูงกว่าหมู่ 6
2. ธาตุสมมติ A , B , C และ D อยู่ในคาบ 2 สารประกอบของธาตุเหล่านี้มีสมบัติดังข้อมูลต่อไปนี้
    I.    สารประกอบไฮไดรด์ของ A มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าสารประกอบไฮไดรด์ของธาตุคาบ 3 ในหมู่                 เดียวกัน และสารประกอบคลอไรด์ของธาตุ A มีสูตร ACl3
    II.   สารประกอบออกไซด์ของ B มีสูตรเป็น B2O และสารประกอบออกไซด์ของธาตุตัวอื่นๆในหมู่                   เดียวกับ B มีสมบัติเป็นเบส
    III.  สารประกอบคลอไรด์ของธาตุ C มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง 25 องศา และสารประกอบนี้มี               สมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนที่ดี
    IV.  สารประกอบไฮไดรด์ของ D มีสมบัติเป็นกรดอ่อน

จากข้อมูลข้างต้น ข้อใด ถูกต้อง (PAT-2 ธ.ค.56)
ก. เลขอะตอมของ D > C > A > B
ข. ขนาดอะตอมของ B > C > A > D
ค. พลังงานไอออไนเซซันของ D > C > A > B
ง. ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของ B > C > A > D

เฉลย ข. เพราะ ธาตุคาบ 2   Li --> B(Li2O)  Be  B --> C(BCl3)  C  N --> A(NH3)  O  F -->D(HF) Ne
A(NH3) มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็น H-b ส่วน PH3 มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแรงระหว่างขั้ว
C(BCl3) เป็นสารประกอบที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่ครบ 8 จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้ดี  
 สัญลักษณ์นิวเคลียร์ เลขมวล เลขอะตอม และไอโซโทป

3. ธาตุ A อยู่ในคาบ 4 หมู่ 1A ธาตุ B อยู่ในคาบ 3 หมู่ 6A ธาตุ A และ B เกิดสารประกอบ AxBy จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง (PAT-2 มี.ค. 52)

ก. ธาตุ A มีเลขอะตอมเท่ากับ 20 ธาตุ B มีเลขอะตอมเท่ากับ 16
ข. จำนวนอิเล็กตรอนของไอออนของ A มีค่าเท่ากับ 18
ค. จำนวนนิวตรอนของธาตุ A น้อยกว่า B
ง. ธาตุ B เกิดสารประกอบโคเวเลนต์กับธาตุ H ได้สารที่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง

เฉลย ข. เพราะ A อยู่คาบ 4 หมู่ 1 (การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 8 1)

จำนวนอิเล็กตรอนของ A+ เป็น 2 8 8

คลื่น สเปกครัม และแบบจำลองอะตอมของโบร์

4. ปรากฏการณ์ใดต่อไปนี้ที่ไม่ได้นำทฤษฏีควอนตัมของพลังงาน E = hV มาใช้ในการอธิบาย 

(PAT-2 ธ.ค. 56)
ก. ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
ข. สเปกตรัมเส้นที่ได้จากอะตอมไฮโดรเจน
ค. การยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทอง
ง. การเปล่งแสงของวัตถุเมื่อได้รับความร้อน

เฉลย ค. เพราะการยิงอนุภาคแอลฟาผ่านแผ่นทองคำ เป็นการยิงอนุภาคบวกไปชนอนุภาคภายในอะตอม และศึกษาการเบี่ยงเบนของรังสีแอลฟา
5. เมื่อพิจารณาจากการจัดเรียงอิเล็กตรอน ไอออนที่น่าจะมีความเสถียรมากที่สุด คือ ชนิดใด
(PAT-2 ก.ค. 52)
ก. H+
ข. He+
ค. He2+
ง. Li+

เฉลย ง. เพราะ Li+ จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 เสถียรเหมือนแก๊สเฉื่อย (He)
6. จากการศึกษาสารประกอบเชิงซ้อนชนิดหนึ่งพบว่า 1 โมเลกุลประกอบด้วย Co(III) 1 ไอออน ,
Br- 3 ไอออน และ H2O 6 โมเลกุล สารนี้เกิดไอโซเมอร์ขึ้นหลายไอโซเมอร์โดยบางไอโซเมอร์ H2O ทำหน้าที่เป็นหมู่ที่มาล้อมรอบ เช่น [Co(H2O)6]Br3 บางไอโซเมอร์ H2O ทำหน้าที่เป็นน้ำผลึก เช่น [CoBr3(H2O)3].3H2O (H2O ที่อยู่นอกวงเล็บทำหน้าที่เป็นน้ำผลึก) โดยน้ำผลึกนี้จะถูกทำให้ระเหยไปได้ โดยอบสารที่อุณหภูมิ 120 C ในขณะที่ H2O ที่เป็นหมู่ที่มาล้อมรอบจะไม่ระเหยไปที่อุณหภูมินี้ นักเรียนคนหนึ่งทำการสังเคราะห์สารประกอบเชิงซ้อนนี้พบว่าได้ของผสมไอโซเมอร์ต่างๆ ออกมา แล้วทำการไอโซเมอร์ต่างๆ โดยใช้เทคนิคทางเคมี นักเรียนคนนี้พยายามทำการวิเคราะห์เบื้องต้นเกี่ยวกับสูตรของไอโซเมอร์ต่างๆโดยใช้อุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อน วิธีการใดต่อไปนี้เหมาะสมที่สุด (PAT 2 ต.ค. 55)
ก. โครมาโทกราฟี
ข. กรอง
ค. การให้ความร้อน 
ง. การตกผลึก

เฉลย ค. เพราะ โครงสร้างในสารประกอบเชิงซ้อน น้ำบางส่วนไม่สามารถระเหยได้ แต่น้ำบางส่วนสามารถระเหยได้ ดังนั้นการศึกษาโครงสร้าง สามารถใช้อุปกรณ์ที่ไม่ซับซ้อนตรวจสอบได้ คือ การให้ความร้อน

7. A เป็นธาตุสมมติ เกิดสารประกอบฟลูอออไรด์ได้หลายชนิดดังนี้ AF2 , AF4 , AF6 โดยที่
      1.  มุมพันธะใน AF2 มีค่าเป็น 180 องศา
      2. AF4 มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมแบนราบ
ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับธาตุ A และสารประกอบฟลูออไรด์ของธาตุ  A (PAT 2 ต.ค. 59)ก. A เป็นธาตุในคาบ 3
ข. AF6 มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ค. ธาตุ A เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง
ง. AF4 มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่
จ. A อยู่หมู่เดียวกับธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 16

เฉลย ข. เพราะ จากสมบัติดังกล่าว A เป็นธาตุหมู่ 8 เมื่อเกิดสารประกอบ AF6 จะมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือ 1 คู่
8. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone paired electron) ของอะตอมกลางในโมเลกุลใดๆ (PAT 2 มี.ค. 58)
ก. มีผลต่อโครงสร้างของโมเลกุล
ข. ทำให้หลุดจากโมเลกุลยากกว่าอิเล็กตรอนตัวอื่น
ค. เป็นตำแหน่งที่เกิดแรงกระทำกับไอออนบวก
ง. ไม่เกี่ยวข้องกับการสร้างพันธะของโมเลกุล

เฉลย ค. เพราะ ตำแหน่งที่กระทำกับไออออนบวก ต้องมีสภาพเป็นขั้วลบ โดยพิจารณาจากค่า EN ไม่ใช่ดูจากอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว


9. แรงระหว่างโมเลกุลคู่ใดแข็งแรงที่สุด (PAT 2 มี.ค. 58)
ก. เมทานอล - น้ำ
ข. เมทิลคลอไรด์ - เอทิลโบรไมด์
ค. ไดเมทิลอีเทอร์ - แอซิโตน
ง. ไอโอดีน - น้ำ

เฉลย ก. เพราะ แรงระหว่างโมเลกุลของสารประกอบทั้งคู่เป็น พันธะไฮโดรเจน
 
 10. พิจารณา electron configuration ของธาตุสมบัติต่อไปนี้
      A : [Ar] 4s2  3d10  4p3
      B : [Ar] 4s2  3d10  4p6
      C : [Kr] 5s2  4d10  5p3
      D : [Kr] 5s2  4d10  5p6
ธาตุใดอยู่ในหมู่เดียวกัน (PAT-2 ต.ค. 54)
ก. A , B
ข. B , C
ค. B , D
ง. A , C
11. ทิศทางของไอออน He+ และ Ne+ เคลื่อนที่ไปด้วยกัน ผ่านสนามไฟฟ้า แนวทางการเคลื่อนที่ของไอออนทั้งสองควรมีลักษณะตามข้อใด (PAT-2 ก.ค.52)
ก. เคลื่อนที่เป็นสองแนวแยกกันไปในทิศตรงข้าม
ข. เคลื่อนที่เป็นสองแนวในทิศทางเดียวกัน โดย He+ มีรัศมีการเลี้ยวเบนสั้นกว่า
ค. เคลื่อนที่เป็นสองแนวในทิศทางเดียวกัน โดย Ne+ มีรัศมีการเลี้ยวเบนสั้นกว่า
ง.  เคลื่อนที่เป็นแนวทางเดียวกัน 


12. พิจารณาสมบัติของธาตุสมบัติต่อไปนี้
ธาตุ
สมบัติ
A
  มีขนาดใหญ่ที่สุดในคาบ 3 และทำปฏิกิริยากับน้ำ
D
  รับอิเล็กตรอนยากที่สุดในหมู่ VA หรือหมู่ 15
E
  มีจำนวนอิเล็กตรอนน้อยที่สุดในตารางธาตุ
G
  มีค่าอิเล็กโทรเนกาวิตีมากที่สุดในตารางธาตุ
J
  อยู่หมู่ IVA หรือหมู่ 14 และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการควอตซ์

สารประกอบระหว่างธาตุคู่ใดต่อไปนี้ที่เกิดปฏิกิริยากับน้ำแล้วให้เกิดแก๊สไฮโดรเจน 
(PAT-2 ต.ค. 59)
ก. A และ
ข. D และ G
ค. E และ
ง. G และ J
13. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ [CoCl4]2- (สีน้ำเงิน) และ [Co(H2O)6]2+ (สีชมพู) มีสีต่างกัน
(PAT 2 ต.ค. 54)
ก. ประจุแตกต่างกัน
ข. โครงสร้างแตกต่างกัน
ค. ชนิดของหมู่ที่ล้อมรอบอะตอมกลางแตกต่างกัน
ง. จำนวนหมู่ที่ล้อมรอบอะตอมกลางแตกต่างกัน  
14. พิจาณาโครงสร้างของสารประกอบออกไซด์ของธาตุสมมติ A , B , C และ D ซึ่งเป็นธาตุในคาบที่ 3 ในตารางต่อไปนี้

ออกไซด์ของธาตุ
รายละเอียดของโครงสร้าง
A
แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 4 ตัว และ O แต่ละตัวมี A ล้อมรอบ 2 ตัว
B
แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 6 ตัว และ O แต่ละตัวมี B ล้อมรอบ 4 ตัว
C
แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 4 ตัว และ O แต่ละตัวมี C ล้อมรอบ 8 ตัว
D
แต่ละตัวมี O ล้อมรอบ 6 ตัว และ O แต่ละตัวมี D ล้อมรอบ 6 ตัว


หมายเหตุ มีธาตุ 3 ตัวเป็นโลหะ และธาตุ 1 ตัวเป็นกึ่งโลหะ
จากข้อมูลในตาราง ข้อใดถูกต้อง (PAT-2 ต.ค.55)
ก. ขนาดของ A > B > C > D
ข. ความสามารถในการรับอิเล็กตรอนของ A > B > C > D
ค. ค่าพลังงานไอออไนเซชันอันดับ 1 ของ D > C > B > A
ง. เลขออกซิเดชันของ A , B , C และ D ในสารประกอบออกไซด์เหล่านี้เป็น +2 , +3 , +4 และ +1 ตามลำดับ

เฉลย ข. เพราะ ธาตุ A B C D เป็นธาตุคาบที่ 3 มีโลหะ 3 ตัว กึ่งโลหะ 1 ตัว แสดงว่า A , B , C , D

จะต้องเป็นธาตุหมู่ 1-4 เช่นกัน
A2O4 ----> AO2 (SiO2)
B4O6 ----> B2O3 (Al2O3)
C8O4 ----> C2O (Na2O)
D6O6 ----> DO (MgO)


No comments:

Post a Comment